วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 21  พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้นักศึกษารำวงเป็นวงกลมและจับกลุ่มตามคำสั่ง เช่น จับกลุ่ม 3 คน , จับกลุ่ม 4 คน , รถจักรยานชนกับรถมอเตอร์ไซค์มีกี่ล้อ , รถ 10 ล้อชนกับรถ 3 ล้อมีกี่ล้อ เป็นต้น จนได้นักศึกษากลุ่มละ 5 - 6 คน 



                             - อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแต่งนิทานจากสิ่งที่ไม่สามารถพูดได้ให้พูดได้พร้อมเตรียมตัวทำการแสดงจากนิทานที่แต่ง



กลุ่มที่ 1 เรื่อง "ถ้าฉันเดินได้" เป็นเรื่องราวของหญ้าแฝกที่ต้องการจะเดินได้เหมือนเพื่อนๆแต่เมื่อตนเดินออกจากดินที่อาศัยอยู่กลับไม่มีเรี่ยวแรง



กลุ่มที่ 2 (กลุ่มดิฉัน) เรื่อง "ยีราฟกระหายน้ำ" เป็นเรื่องราวของยีราฟผู้หวังน้ำบ่อหน้าจนสุดท้ายไม่มีน้ำให้กินจึงต้องกลับมากินน้ำบ่อแรก




กลุ่มที่ 3 เรื่อง "ป่ามหัศจรรย์" เป็นเรื่องราวของพญานกผู้สงสารสัตว์อื่นๆจนกำลังจะอดตายจึงขอพรให้ตนพูดไม่ได้เพื่อที่จะได้ไม่รับฟังสัตว์ต่างๆร้องขอชีวิต



กลุ่มที่ 4 เรื่อง "เพื่อนรัก" เป็นเรื่องราวของสิงโตผู้วางอำนาจเป็นใหญ่ในหมู่เพื่อนเพราะตนพูดได้ จนวันนึงเพื่อนของสิงโตพูดได้ ทุกตัวจึงมีอำนาจเท่าเทียมกัน



กลุ่มที่ 5 เรื่อง "เจ้าหญิงกบ" เป็นเรื่องราวของเจ้าชายที่ไปช่วยเจ้าหญิงที่เป็นกบให้กลายเป็นมนุษย์แต่กลับถูกทิ้งเหมือนที่ตนเคยทำกับคนอื่น



                      - อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่าจากการทำกิจกรรมนักศึกษาได้อะไรบ้างหรือเป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง
ขั้นตอนในการแต่งนิทาน เพื่อให้นิทานนั้นร้อยเรียงกันเป็นนิทาน 1 เรื่อง คือการวางโครงเรื่อง ดังนี้
1.ตรีมของนิทาน 
2.การแตกส่วนนิทานว่าจะมีเนื้อหาแบบใดบ้าง
3.นำเนื้อหามาลำดับ
4.หาตัวละคร
5.สถานที่ของเรื่องราว


                          - อาจารย์สอบถามแต่ละคนว่าตนเองได้อะไรจากกิจกรรมนี้บ้างและภาพรวมของแต่ละกลุ่มต่อกิจกรรมนี้เป็นอย่างไรบ้าง  ซึ่งจากการทำกิจกรรมตัวดิฉันเองได้เรียนรู้แนวคิดหรือข้อคิดจากนิทานที่แต่งขึ้นมาและการทำงานเป็นทีม


                           - อาจารย์ให้นักศึกษารำวงและแบ่งกลุ่มตามที่ได้ทำไปเมื่อต้นคาบเรียน จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดเพลงประจำกลุ่มและทำจังหวะของเครื่องดนตรีเพื่อประกอบเพลง



ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 14  พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้โจทย์นักศึกษาโดยการให้นักศึกษาใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาว่าเมื่อเราพูดถึงสิ่งๆหนึ่งเราจะสามารถนึกอะไรได้ต่อจากสิ่งนั้นบ้าง เช่น
1.ภูเขา : ต้นไม้ , หลังเต่า , ลม , ชาเย็น , แม่น้ำ , หิน เป็นต้น
2.เบิก : เบิกบาน , เบิกเงิน , เบิกเนตร เป็นต้น
3.มะ : มะขาม , มะปราง , มะม่วง , มะเฟือง เป็นต้น
4.กะ : กะปิ , กระทันหัน , กระดาษ , กระต่าย เป็นต้น


                         - การเคลื่อนไหวมีอยู่ 2 แบบ
1.การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่   (มีอุปกรณ์ / ไม่มีอุปกรณ์)
2.การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่     (มีอุปกรณ์ / ไม่มีอุปกรณ์)
> เมื่อจะจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลง จึงมาดูว่าจะจัดกิจกรรมในรูปแบบไหนและจะใช้อุปกรณ์หรือไม่


                         - กิจกรรมการเคลื่อนไหวมีวัตถุประสงค์  ดังต่อไปนี้ 
1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
2.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำ ผู้ตาม
5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6.การเคลื่อนไหวแบบความจำ
> โดยแต่ละการเคลื่อนไหวสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในกิจกรรมนั้นๆได้
                       - อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มทั้งหมด 6 กลุ่ม แบ่งกลุ่มละ 1 หัวข้อจากวัตถุประสงค์และให้แต่ละกลุ่มคิดการจัดกิจกรรมของหัวข้อนั้นๆ กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายให้จัดกิจกรรม "การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง



                       - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามที่ได้วางแนวคิดในการจัดกิจกรรมไว้
กลุ่มที่ 1 กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง (การเคลื่อนที่ตามความคิดสร้างสรรค์)



กลุ่มที่ 2 กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง (สร้างสรรค์โดยการทำท่าทางประกอบเพลง)



กลุ่มที่ 3 กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผู้นำ ผู้ตาม (จินตนาการท่าทางสัตว์ก่อนออกมาเป็นผู้นำ)



กลุ่มที่ 4 กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย (จินตนาการท่าทางตามคำบรรยาย)



กลุ่มที่ 5 กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบความจำ (เคลื่อนที่ทำท่าทางสัตว์ตามจินตนาการไปที่มุมต่างๆ)



กลุ่มที่ 6 (กลุ่มดิฉัน)กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง (ทำตามคำสั่งโดยใช้ท่าทางตามความคิดสร้างสรรค์) 



ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 7  พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น
เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง

คนที่ 1 นางสาว มาลินี (โฮโลแกรม ภาพ 3 มิติ)



คนที่ 2 นางสาว ณัฐณิชา (เตาอบป๊อปคอร์น)


คนที่ 3 นางสาว ทาริกา (รถเคลื่อนด้วยหนังยาง)


คนที่ 4 นางสาว จิรญา (เตาปิ้งพกพา)


คนที่ 5 นางสาว สุธาสิณี (โคมไฟจากช้อน)


คนที่ 6 นางสาว วราพร (ที่ล้างจาน)


คนที่ 7 นางสาว ประวีณา (เตาแก๊ส)


คนที่ 8 นางสาว วิไลวรรณ (หมวกจากกล่องนม)


คนที่ 9 นางสาว ธนภรณ์ (สานกระเป๋าจากกล่องนม)


คนที่ 10 นางสาว อันทิรา (แคชเชียร์)


คนที่ 11 นางสาว นันทนาภรณ์ (ถังขยะจากขวดน้ำ)


คนที่ 12 นางสาว สาวิตรี (สานเสื่อจากกล่องนม)


คนที่ 13 นางสาว ศิริพร (บัวรดน้ำจากกระป๋อง)


คนที่ 14 นางสาว ประภาพร (กล่องดินสอ)


คนที่ 15 นางสาว วรัญญา (โต๊ะเขียนหนังสือ)


คนที่ 16 นางสาว ประภาภรณ์ (ลิ้นชัก)


คนที่ 17 นางสาว เรณุกา (กระเป๋าจากกล่อง)


คนที่ 18 นางสาว ศิริพร (ร้อยเชือกรองเท้า)


คนที่ 19 นางสาว พรชนก (ที่เช็ดรองเท้า)


คนที่ 20 (ดิฉัน) นางสาว จีรวรรณ  งามขำ (ฝาชีจากก้นขวดน้ำ)


คนที่ 21 นางสาว พิชญากาญจน์ (ที่คาดผม)


คนที่ 22 นางสาว นิตยา (ตู้เย็นจากขวดน้ำ)


คนที่ 23 นางสาว ชลนิชา (เคสโทรศัพท์จากกระป๋อง)


สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆในชั้นเรียน



                       - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น อาจารย์ให้นักศึกษาลองตั้งโจทย์ว่าเพราะอะไรเราจึงประดิษฐ์สิ่งนี้ เช่น แว่นขยาย โจทย์คือเราจะขยายของจากขวดน้ำได้อย่างไร จึงเกิดเป็นแนวคิดการประดิษฐ์แว่นขยาย
                      

                        -  สิ่งประดิษฐ์ของดิฉันคือ"ฝาชีจากก้นขวดน้ำ" 
โจทย์คือ"เราจะป้องกันอาหารจากพวกแมลงได้อย่างไรจากขวดน้ำที่เรามีอยู่โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย"
                          อาจารย์ให้แต่ละคนเสนอโจทย์ที่ตั้งจากสิ่งของที่ประดิษฐ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำในการตั้งโจทย์ปัญหาเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์

                  
                         - นั่งตามกลุ่มของตนเองเพื่อทำเกมการศึกษาตามที่ได้วางแผนไว้



ภาพการทำเกมการศึกษา




ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง