วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 12  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                         - ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ทบทวนเพลงที่นักศึกษาได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์แรก


                       - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "STEM / STEAM Education"


STEM” คืออะไร 
        •เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์       และคณิตศาสตร์
        •นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

        •เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่         ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEAM Education
•การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
•เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ           ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
                  - อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม " Creative Thinking ผีเสื้อแสนสวย "


กิจกรรมแรก คือ ตกแต่งจานกระดาษ
STEM / STEAM  :  MATH / ART
แนวคิด : ลักษณะของผีเสื้อ
              โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ตกแต่งจานกระดาษให้ออกมาเป็นผีเสื้อตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของแต่ละกลุ่ม  อุปกรณ์ มีดังนี้  1.จานกระดาษ   2.สีเทียน   3.ไม้ไอติมขนาดใหญ่

         
                 สมาชิกในกลุ่มร่วมกันออกแบบผีเสื้อ โดยเริ่มจากการตัดจานกระดาษออกเป็น 2 ส่วน          ให้มีลักษณะคล้ายปีกของผีเสื้อจากนั้นก็ระบายสีของปีกและตกแต่งไม้ไอติมให้เป็นตัวของผีเสื้อ


ผลงานผีเสื้อแสนสวนของกลุ่มดิฉัน



กิจกรรมที่สอง คือ สร้างกรงเสี้ยงผีเสื้อ
STEM / STEAM  :  Engineering / Science / Technology
แนวคิด : ที่อยู่ของผีเสื้อ
               อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันออกแบบและสร้างกรงของผีเสื้อตามความคิดของแต่ละกลุ่ม อุปกรณ์  มีดังนี้ 1.กิ่งไม้ขนาดต่างๆ   2.เชือก




ผลงานกรงผีเสื้อแสนสวยของกลุ่มดิฉัน




กิจกรรมที่สาม คือ ถ่ายภาพ
STEM / STEAM  :  Science / Technology
แนวคิด : วงจรชีวิต
                โดยอาจารย์ให้นักศึกษาปั้นวรจรของผีเสื้อจากดินน้ำมันและถ่ายคลิปวงจรของผีเสื้อ





ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง


วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 5  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                         - ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปลิงค์บล็อกกับอาจารย์


                         - อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอสาธิตความปลอดภัยบนรถเมล์และร่วมสนทนาพูดคุยกับนักศึกษาเกี่ยวกับโฆษณานี้เล็กน้อย


                      - ทบทวนเพลงทั้ง 5 เพลงที่นักศึกษาได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

               
                     - กิจกรรม Marshmallow Tower 
                                     โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน สร้างตึกให้สูงที่สุดภายใน 3 ครั้งโดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้ ดินน้ำมันและไม้จิ้มฟัน




ครั้งที่ 1  ทุกคนในกลุ่มห้ามพูดคุยหรือสนทนากัน (กลุ่มดิฉันความสูงคือ 22 ซม.)


ครั้งที่ 2  มี 1 คนในกลุ่มสามารถพูดได้ (กลุ่มดิฉันความสูงคือ 60 ซม.)


ครั้งที่ 3  ทุกคนในกลุ่มสามารถร่วมกันวางแผนและสนทนาได้ (กลุ่มดิฉันความสูงคือ 51 ซม.)

                 
                         - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง"การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์"


การเล่น 
             • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
             • ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
             • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ 
    •  เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
    •  การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
    •  การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
            •  ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
            •  ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
            •  มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
            •  มีการสรุปท้ายกิจกรรม
                             - กิจกรรม "ไร่สตอเบอรี่" 

                                      
                               อาจารย์ให้นักศึกษาจินตนาการตามเรื่องที่อาจารย์เล่าว่านักศึกษาคิดอย่างไรและถ้าเป็นนักศึกษาจะทำอย่างไร มีเหตุการณ์หลักอยู่ 4 เหตุการณ์คือ 
1. ในจินตนาการของนักศึกษาเห็นรั่วของไร่สตอเบอรี่เป็นอย่างไร  
2. เมื่อนักศึกษาเข้าไปในไร่สตอเบอรี่ได้แล้วจะกินสตอเบอรี่หรือไม่และถ้ากินจะกินกี่ลูก
3. เมื่อเจ้าของไร่มาเห็นนักศึกษาจะตอบว่าอย่างไร
4. เมื่อนักศึกษาออกมาจากไร่แล้วหันกลับไปมองไร่สตอเบอรี่ที่พึ่งออกมาจะรู้สึกอย่างไร
เฉลย 
1. คือระดับความนอกใจของแต่ละคน
2. จำนวนกิ๊กแต่ละคน
3. เมื่อแฟนจับได้จะมีคำแก้ตัวว่าอย่างไร
4. ความรู้สึกในการนอกใจของแต่ละคน
                               - กิจกรรม"เรือน้อยบรรทุกของ"
                                     โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน สร้างเรือที่สามารถบรรทุกของได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้ กระดาษ หนังยางและหลอด



เรือของเพื่อนๆในชั้นเรียน


กลุ่มที่ 1


กลุ่มที่ 2  (กลุ่มดิฉันบบรทุกซองซอสได้ทั้งหมด 45 ซอง)


กลุ่มที่ 3


กลุ่มที่ 4



กลุ่มที่ 5


กลุ่มที่ 6


                                        - กิจกรรม"ดีไซน์เนอร์ระดับโลก"
                                         ดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ประดิษฐ์ชุดจากสิ่งของดังนี้ กระดาษหนังสือพิมพ์และสก็อตเทป 1 ม้วน 



กลุ่มดิฉัน




เพื่อนๆที่เป็นนางแบบ


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์แนะแนวการเรียนการสอนของรายวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 
                      - อาจารย์แจกกระดาษเนื้อเพลงให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่นและร่วมร้องเพลง
ทั้ง 5 เพลงพร้อมทำท่าทางประกอบเพลง


                       - ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์มีภาพปริศนา 9 จุดให้นักศึกษาทุกคนลองลากเส้น 4 เส้น
ผ่านจุดทั้ง 9 จุดโดยไม่ยกมือ ภาพนี้สอนเรื่องการคิดนอกกรอบเพราะถ้าหากเราลากเส้นอยู่แต่ในกรอบ
เราก็จะไม่สามารถลากเส้นทั้ง 4 เส้นตัดทั้ง 9 จุดได้ โดยมีตัวแทนนักศึกษาออกไปลากเส้นให้เพื่อนๆดู
หน้าชั้นเรียน


                     - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย"
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
  อุษณีย์  โพธิสุข
                     กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
•ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
•ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)
•ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
•ด้านการคิด (Ideation Fluency)
2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
•ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
* ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ *
                      - กิจกรรมในชั้นเรียนวันนี้
1.อาจารย์ถามคำถามเกี่ยวกับความคิดคล่องแคล่ว ตัวอย่างคำถามเช่น จังหวัดในประเทศไทยมี
จังหวัดอะไรบ้างแล้วให้นักศึกษาทุกคนพูดมาคนละ 1 จังหวัดโดยไม่ซ้ำกัน
2.กิจกรรมสร้างเครื่องบิน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสร้างจรวดของตนเองเมื่อสร้างแล้ว
ให้นำจรวดออกมาโยนหน้าชั้นเรียนให้ลงกล่องที่อาจารย์ตั้งใว้


 จรวดที่ดิฉันพับ

3.แบบทดสอบทางจิตวิทยา 5 ข้อ โดยอาจารย์จะให้นักศึกษาดูรูปภาพพร้อมทั้งฟังอาจารย์เล่าเกี่ยวกับ
เหตุการณ์ในรูปภาพนั้นๆว่าถ้าเป็นตัวนักศึกษาเอง นักศึกษาจะทำอย่างไร
4.กิจกรรมวาดเส้นตามความรู้สึกขณะที่ฟังเพลง โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน ใช้สีลากเส้น
ตามความรู้สึกของตนเองขณะฟังเพลง เมื่อลากเส้นเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษามองภาพของตนเอง
ว่าเราสามารถมองเป็นรูปอะไรได้บ้างจากนั้นให้เติมสีสันลงไป

คู่ของดิฉันมองเห็นเป็นรูปหอยทาก หนอน และสุนัขกำลังนอน


ภาพผลงานของเพื่อนๆในชั้นเรียน


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง