วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 17  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ทบทวนองค์ความรู้ที่นักศึกษาได้จากกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมที่ได้ทำไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าแต่ละกิจกรรมนั้นสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการกับวิชาอื่นๆอีกได้ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของการค้นพบ การทดลอง การผสมสี การสังเกต เป็นต้น


                        - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10 คน ออกแบบตัวเลข 0 - 9 มาคนละ 1 ตัว 


ตัวเลขที่ฉันออกแบบ คือ 8 


                     - จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำตัวเลขที่ตนเองออกแบบไปติดบนกระดานที่หน้าชั้นเรียนตามกลุ่มของตนเองโดยเรียงจาก 0 ถึง 9 


                     - อาจารย์ให้นักศึกษาอธิบายตัวเลขของตนเองที่ได้ออกแบบมาว่ามีแรงบันดาลใจมาจากอะไร ซึ่งเลข 8 ของดิฉันนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากการที่เราเห็นเลข 8 โดยปกติเราจะเห็นว่ามีวงกลมอยู่บริเวณด้านใน 2 วงกลมด้วยกัน ดิฉันจึงคิดว่าอะไรเอ่ยที่มีรูปร่างเป็นวงกลม จึงได้นึกถึงผักและผลไม้ ซึ่งผลไม้ที่ดิฉันเลือกมาก็คือ ส้ม และผักที่ดิฉันเลือกมาคือ มะเขือเทศ เพื่อมาอยู่ด้านในของเลข 8
                   จากกิจกรรมนี้  เป็นการบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์คือการดึงเอาความรู้เดิมออกมาในรูปแบบของตัวเลขว่าจากความรู้เดิมเคยรู้จักรูปร่างของตัวเลขเป็นอย่างไรและจะออกแบบมาในรูปแบบใด ซึ่งเกิดจากการที่คนเรามีกระบวนการดังนี้ การเห็น การเทียบเคียง และปรากฎออกมา



                      - ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนระบายสีตกแต่งตัวเลขของตนเองให้สวยงามและตัดออกมาตามรูปทรงของตัวเลขนั้นๆ ซึ่งผลงานที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ ตัวอย่างเช่น สื่อประกอบการเล่านิทาน สื่อประกอบเพลง เป็นต้น
ผลงานตัวเลข 8 ของดิฉัน


                              - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกแบบสื่อที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ 

กลุ่มที่ 1  เกมการศึกษา "ภาพเงา" เป็นการจับคู่ภาพและเงาของภาพนั้นๆ


กลุ่มที่ 2  เกมการศึกษา "ตัวเลขและจำนวน" โดยให้เด็กวางไม้ไอติมตามจำนวนของตัวเลขเกมการศึกษานี้จะช่วยสอนเด็กในเรื่องของพื้นฐานการบวก
คำแนะนำ  ควรมีเฉลย เพราะเมื่อเวลาเด็กมาเล่นตามลำพังจะได้ทราบว่าที่ตนเองติดไปนั้นถูกต้องหรือไม่


กลุ่มที่ 3  นิทาน "ตัวเลข" โดยใช้ไม้ไอติมบอกจำนวนคนในนิทาน



ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 10  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์พูดเกี่ยวกับ "ความคิดสร้างสรรค์" 
ว่ามีจุดเริ่มต้นเป็นลำดับขั้นดังนี้
ความคิดริเริ่ม คือ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิดโดยการตั้งประเด็นปัญหาหรือหาสื่อใหม่ๆในการทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ
ความคิดคล่องแคล่ว คือ เด็กจะมีการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดเกิดจากการได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจึงเกิดความคล่องแคล่ว
ความยืดหยุ่น คือ การปรับเปลี่ยน ปรับไปปรับมาจนกว่าจะลงตัว
ความคิดละเอียดลออ คือ ปรับอย่างละเอียดลออ ปรับจนดีที่สุด
เมื่อเกิดความคิดทั้ง 4 อย่างนี้แล้วจะนำไปสู่ ความคิดสร้างสรรค์

                         - ต่อมาอาจารย์พูดถึงเรื่องของ "หลักสูตร"
หลักสูตร ประกอบด้วย สาระและประสบการณ์สำคัญ
สาระ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ 
ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัว
ประสบการณ์สำคัญ คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา


                         - อาจารย์แบ่งฐานกิจกรรมออกเป็น 4 ฐานและให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเข้าทำกิจกรรมในแต่ละฐาน ซึ่งกิจกรรมในแต่ละฐานมีดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ประดิษฐ์แมลงบินได้
กิจกรรมที่ 2 วาดผีเสื้อจากมือ
กิจกรรมที่ 3 พ่นสีจากหลอด
กิจกรรมที่ 4 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ



กิจกรรมที่ 1 ประดิษฐ์แมลงบินได้
อุปกรณ์  มีดังนี้ เชือก แกนกระดาษทิชชู่ เครื่องเจาะกระดาษ กระดาษร้อยปอนด์  กรรไกร กาวและสี


ขั้นตอนการทำ 
1. ตัดแกนกระดาษทิชชู่ออกเป็น 3 ส่วน


2. ใช้เครื่องเจาะกระดาษเจาะไปที่แกนกระดาษทิชชู่จำนวน 2 ครั้ง จะได้ 4 รู


3. ร้อยเชือกเข้าไปในแกนกระดาษทิชชู่และมัดปม  ดังภาพ


4. ตัดกระดาษร้อยปอนด์ให้เป็นรูปวงกลมขนาดกว้างกว่าแกนกระดาษทิชชู่เล็กน้อย


5. วาดแมลงพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม


6. นำกระดาษร้อยปอนด์มาติดกับแกนกระดาษทิชชู่


ผลงานของดิฉัน (แมลงปอ)
เมื่อนำเชือกคล้องที่คอ ดึงที่ปลายเชือกซ้ายขวา แมลงจะขยับได้


กิจกรรมที่ 2 วาดผีเสื้อจากมือ
อุปกรณ์  มีดังนี้ กระดาษเอ4 สีน้ำ พู่กัน


ขั้นตอนการทำ 
1. นำสีมาทาที่มือ


2. ประทับมือลงบนกระดาษ ตกแต่งตามใจชอบ


3. ตัดแต่งกระดาษตามกรอบมือ พับครึ่ง


4. ตัดกระดาษเป็นเส้นยาวๆและพับครึ่ง  ดังภาพ


5. ติดด้านหลังของผีเสื้อ


ผลงานของดิฉัน
เมื่อดึงที่กระดาษด้านล่าง ปีกของผีเสื้อจะสามารถขยับได้


กิจกรรมที่ 3 พ่นสีจากหลอด
อุปกรณ์  มีดังนี้ กระดาษ หลอด สีน้ำ
ขั้นตอนการทำ
1. นำหลอดจุ่มสีน้ำ 
2. พ่นสีลงกระดาษโดยการเป่า


ผลงานของดิฉัน


กิจกรรมที่ 4 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ
อุปกรณ์  มีดังนี้  จานกระดาษ สีเทียนและไม้
ขั้นตอนการทำ 
ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษตามความคิดและจินตนาการของแต่ละคน


ผลงานของดิฉัน (แหล่งที่อยู่อาศัยของปลา)


ผลงานทั้งหมดของดิฉันในกิจกรรมวันนี้


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 3  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรม STEM & STEAM 6 กิจกรรม จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรมเพื่อจัดกิจกรรมในชั้นเรียน
กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน  กิจกรรมออกแบบบ้าน โดยให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกแบบบ้านของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม


ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน



บ้านที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกแบบ


กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้(กลุ่มดิฉัน)  ออกแบบมงกุฎผลไม้ โดยให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกแบบมงกุฎผลไม้ของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม ท้ายกิจกรรมให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาเป็นนางแบบหน้าชั้นเรียนเพื่อนนำเสนอมงกุฎผลไม้


ภาพของแต่ละกลุ่มในการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน






มงกุฎผลไม้ของแต่ละกลุ่ม


กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ  หุ่นนิ้วยานพาหนะ  โดยให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกแบบหุ่นนิ้วยานพาหนะของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม


ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน



หุ่นนิ้วของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม


กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้   โมเดลผลไม้  โดยให้เพื่อนๆสร้างโมเดลผลไม้ของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม


โมเดลผลไม้ของกลุ่มดิฉัน


โมเดลผลไม้ของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม


กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา  ตกแต่งจานกระดาษปลา  โดยให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกแบบปลาจากจานกระดาษของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม


ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน



ปลาของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม


กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่  ประดิษฐ์ตุ้กตาล้มลุกจากไข่  โดยให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มประดิษฐ์ตุ้กตาลุ้มลุกของกลุ่มตนเองตามความคิดและจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม


ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน


ตุ้กตาล้มลุกของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง